วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ

๘ พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ.... ปีพศ.๒๑๑๗ พระเจ้าหงสวาดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ ราชบุตรชื่อมังเอิญหรือมังไชยสิงห์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง ตามธรรมเนียมประเพณีแล้วบรรดาประเทศราชที่เป็นเมืองขึ้นจะต้องเดินทางไปถวายบังคมกษัตริย์องค์ ใหม่แสดงความจงรักภักดีรวมทั้งไทยด้วย แต่ว่าเมืองคังมีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้ครองนครไม่เดินทางมาร่วม หมายถึงกระด้างกระเดืองคิดแข็งเมือง ทางพระเจ้านันทบุเรงได้สั่งให้ยกทัพไปปราบเมืองคัง เพื่อแสดงอำนาจบารมี โดยมีการจัดทัพเป็น ๓ กองทัพคือ ๑ กองทัพพระมหาอุปราช เป็นโอรสของพระเจ้านันทบุเรง มีชื่อเดิม มังสามเกียด หรือมังกะยอชะวา ๒ กองทัพพระสังกะทัต เป็นราชบุตรของพระเจ้าตองอู มีชื่อเดิม นัดจินหน่อง ๓ กองทัพสมเด็จพระนเรศวร เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์ไทย เมืองคังมีทำเลอยู่บนเขาทางขึ้นก็เป็นซอกเขา ยากต่อการเข้ายึด เริ่มการศึกทาง พระมหาอุปราชเข้าตีก่อนและแพ้ลงมา ครั้งที่สองให้พระสังกะทัตเข้าตีก็ไม่สำเร็จ ต่อไปเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระนเรศวร ด้วยทรงพระปรีชาสามารถจึงตีเมืองคังได้สำเร็จและจับตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาถวายพระเจ้านันทบุเรงอีกด้วย การศึดครั้งนี้สร้างความอับอายให้พระเจ้านันทบุเรงมาก เพราะต้องการให้ราชโอรสชนะ ใช่แต่เรื่องการศึกเท่านั้นในยามว่างก็มีการนำไก่ชนมาตีกัน ระหว่างไก่ของสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราช ผลคือไก่ชนของพระนเรศวรตีชนะทำเอาพระมหาอุปราชเสียหน้าจึงตรัสว่า “ ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ ” พระนเรศวร ทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสกลับไปว่า “ ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ได้ ” ( ถ้าลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขับไล่เขมร การตีเมืองคัง ได้สำเร็จ จนถึงการชนไก่ จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระบารมีเหนือกว่า ทางฝ่ายพม่ามากนัก )

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน เขมร สันดาลเนรคุณ

๗ เขมร สันดาลเนรคุณ .... เมื่อปีพศ. ๒๐๗๕ ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ ( ช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจากพระชัย ราชามาเป็นพระเทียรราชา หรือพระมหาจักรพรรดิ ) กรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาตี ไทย ฝ่ายเขมรพระยาละแวกเห็นได้ทีจึงยกทัพเข้ามาทางปราจีนบุรีกวาดต้อนผู้คน กลับไปเขมรจำนวนมาก หลังจากพม่ายกทัพกลับไปสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรง พิโรธมาก จึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปถึงเมืองพระตะบองและละแวก พระยาละแวก เห็นท่าจะแพ้ในการศึกจึงมีราชสาสน์มากราบทูลพระมหาจักรพรรดิ จับใจความได้ ว่า “ ข้าพระองค์ผู้ปกครองกัมพูชา มิได้เกรงพระบรมเดชานุภาพที่ไปกวาดต้อน คนจากปราจีนบุรี ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณา การมาถวาย และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปวสาน ”
หลังจากนั้น ๓ วันพระยา ละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการพร้อมด้วยนักพระสุโทและนักพระสุทันเป็นราชบุต มาเข้าเฝ้า ทางพระมหาจักรพรรดิก็ทรงคลายพิโรธและขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยง ดู พระยาละแวกก็ยอมจากนั้นก็กวาดต้อนคนชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย ต่อมาไม่นานญวณได้ยึดเมืองละแวก ไทยจึงส่งกองทัพไปช่วยเพื่อตีเมืองคืนแต่ทำไม่สำเร็จ
ในปีพศ.๒๑๑๓ รัชสมัยพระมหาธรรมราชาหลังจากที่ไทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรได้ถือโอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนา-ยก(ทั้งที่เคยให้สัจจะว่าจะขอเป็นข้าพระบาทกษัตริย์ไทยชั่วกัลปาวสาน) พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูกพระจำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง ทัพของเขมรถอยกลับไปแต่ก็ย้อนกลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง นอกจากนี้พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อนผู้คนแถวจันทรบุรี ระยอง ฉะเชิง เทรากลับไปเขมรจำนวนมากด้วยความคดในข้องอในกระดูกพระยาละแวกได้ยก ทัพมาถึงปากน้ำพระประแดงโจมตีเมืองธนบุรีจับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็น เชลยจำนวนมาก เลยได้ใจรวบรวมคนหมายจะตีกรุงศรีอยุธยา แต่งทัพเรือ ๓๐ ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย แต่โชคไม่ดีถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทางพระประแดง ( หนีไม่หนีเปล่ายังกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย ..... เลวจริงๆ )
ในปีพศ.๒๑๒๙ พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกหงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีน
สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า “ พระยาละแวกตบัตสัตย์อีกแล้ว จึงต้องยกไปปราบให้ราบคราบ ” ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก
ในปีพศ.๒๑๓๒ หลังจากสมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ทรงปรึกษาข้าราชการว่ากษัตริย์เขมรมีใจคิดไม่ซื่อเหมือนพระยาละแวก ชอบซ้ำเติมไทยในยามศึกกับพม่า
จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกทัพไปแก้แค้นเอาโลหิตมาล้างพระบาต ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์ แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้ ทรงล้อมเมืองนานถึง ๓ เดือนยังตีไม่ได้ เสบียงอาหารเริ่มลดน้อยลงจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน แล้วจะเตรียมการมาตีในภายหน้า

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน กรรมตามสนอง

๖ กรรมตามสนอง ......หลังจากที่ไทยได้เสียกรุงแก่พม่าแล้ว (หลังจากพระมหาจักรพรรดิสวรรคต ๕ เดือน) พระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง)ได้ให้พระมหาธรรมราชาปกครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งขึ้นต่อกรุงหงสาวดี การรบครั้งนั้นถึงแม้จะชนะแต่พม่าก็เสียไพล่พลเป็นจำนวนมากมาย จึงกวาดต้อนชาวเมืองไปเป็นเชลยจำนวนมากเหลือไว้เพียง ๑๐๐๐ คน ส่วนสมเด็จพระมหินทร์ฯและพระญาติรวมทั้งข้าราชการได้ถูกนำตัวไปไว้ยังเมืองหงสาวดี แต่สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงประชวรและสวรรคตระหว่างทาง พระมหาธรรมราชาได้ขอสมเด็จพระนเรศวรเพื่อมาช่วยราชการ ขณะนั้นพระองค์ มีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา พระเจ้าบุเรงนองยินยอมแต่ต้องแลกกลับพระสุพรรณกัลยาณีซึ่งเป็นพระพี่นางสมเด็จพระนเรศวร โดยนำไปเป็นพระชายาและองค์ประกันแทน ทางด้านพระยาจักรีผู้ทรยศ ในพงศาวดารได้กล่าวว่า พระเจ้าบุเรงนองได้ให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกแต่ทางพระยาจักรีไม่ต้องการจะขอไปรับราชการที่กรุงหงสาวดี ฝ่ายบุเรงนองเลี้ยงพระยาจักรีไว้ไม่นานเพราะว่าพระยาจักรีทรยศแม้กระทั่งแผ่นดินเกิด จึงพาลหาข้อผิดกล่าวโทษเพื่อประหารชีวิตเสีย ( นี่เป็นกรรมตามสนองในครั้งที่พระยาจักรีให้ร้ายพระศรีสาวราชน้องยาเธอ จนถูกสำเร็จโทษ )

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน เสียกรุงครั้งแรก

๕ เสียกรุงครั้งแรก .....“ ปีพศ. ๒๑๑๒ ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่าผู้รุกรานยังพยายามจะ ตีไทยให้ได้ จากพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ถึงแม้บุเรงนองจะเก่งในการศึกแต่ไม่ เคยรบชนะไทยด้วยการนำทหารเข้าประจันบานเลย แต่จะใช้เล่ห์เหลี่ยมและอุบาย ต่างๆเข้าช่วยเสมอ จึงใช้วิธีทำให้ไทยแตกแยกเป็น ๒ ฝ่าย โดยพม่ายกพระมหา ธรรมราชาให้เป็นใหญ่ทางเหนือ หลังจากพระมหาจักรพรรดิทรงเสด็จออกผนวช พระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์และทรงคิดกำจัดพระมหาธรรมราชา จึงส่งสาสน์ ไปถึงพระไชยเชษฐาผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุตให้ยกทัพมาตีพิษณุโลก ทางพระ มหาธรรมราชาจึงขอทหารจากเมืองหงสาวดีและกรุงศรีฯขึ้นมาช่วยป้องกันเมือง พระมหินทร์ฯทรงแกล้งส่งพระยาสีหราชเดโชยกทัพไปช่วย แท้จริงแล้วให้ร่วมกับ ทัพพระไชยเชษฐาตีพิษณุโลก แต่ว่าพระยาสีหราชเดโชแปรพักไปเข้ากับพระมหา ธรรมราชาแล้วทูลความจริงให้ทราบ พระมหาธรรมราชาจึงรับสั่งป้องกันเมืองไว้ ประจวบเหมาะกองทัพหงสาวดียกมาช่วยทัน กองทัพพระไชยเชษฐาจึงถอยกลับ เวียงจันทร์ เมื่อเหตุการณ์เริ่มบานปลายพระมหาจักรพรรดิทรงลาผนวช แล้วเสด็จขึ้นครอง ราชย์อีกครั้ง ทรงยกทัพขึ้นมาเมืองพิษณุโลก รับพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยโอรส ธิดาของพระมหาธรรมราชา(ขณะนั้นอยู่กรุงหงสาวดี) ลงมาเป็นองค์ประกันอยู่ที่ กรุงศรีอยุธยา
ทางพระมหาธรรมราชาเมื่อทราบว่าพระอัครชายาและโอรสธิดาถูกจับเป็นองค์ ประกันก็ทรงวิตกยิ่งนัก แล้วรีบส่งสาสน์ไปยังพระเจ้าหงสาวดีให้ยกทัพมาตีกรุง ศรีอยุธยารวมทั้งหมด ๗ ทัพ มีกำลังพลร่วม ๕ แสนคน ยกทัพมาทางด่านแม่ ละเมาเข้าเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเมื่อทราบว่าหัวเมืองทางเหนือเป็นของพม่าแล้ว จึงเตรียมรบ อยู่ที่พระนคร นำปืนนารายณ์สังหารยิงไปยังกองทัพพระเจ้าหงสาวดีที่ตั้งอยู่บริ เวณทุ่งลุมพลี ถูกทหาร ช้าง ม้าล้มตายจำนวนมาก พม่าจึงถอยทัพมาตั้งที่บ้าน พราหมณ์ให้พ้นทางปืน แล้วพระเจ้าหงสาวดีจึงเรียกประชุมการศึก พระมหา อุปราชเห็นสมควรให้ยกทัพเข้าตีไทยทุกด้านเพราะมีกำลังมากกว่า แต่พระเจ้า หงสาวดีไม่เห็นด้วยเพราะกรุงศรีอยุธยามีทำเลดีมีน้ำล้อมรอบ จึงสั่งให้ตีเฉพาะ ด้านตะวันออกเพราะคูเมืองแคบที่สุด พม่าพยายามจะทำสะพานข้ามคูเมืองแต่ ถูกทหารไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ( ศพแล้วศพเล่าที่นำดินมาถมสะพาน )
ระหว่างการสงคราม สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงประชวรและสวรรคตในเวลา ต่อมา พระเจ้าหงสาวดีได้โอกาสจึงสั่งให้ทหารเข้ามาตีพระนครด้านตะวันออก พร้อมๆกัน ฝ่ายไทยมีพระมหาเทพนายกองรักษาด่านอย่างเต็มสามารถ ทำให้ พม่าล้มตายจำนวนมากจึงถอยข้ามคูกลับไป ไม่ได้ด้วยฝีมือต้องใช้เล่ห์กล พระเจ้าหงสาวดีจึงถามพระมหาธรรมราชาว่าจะ ทำอย่างไรให้ชนะศึกโดยเร็ว พระมหาธรรมราชาทรงแนะว่าพระยารามเป็นแม่ทัพ สำคัญให้ได้ตัวมาการยึดพระนครจักสำเร็จ จึงมีสาสน์มาถึงพระอัครชายาว่า
.... การศึกเกิดจากพระยารามที่ยุยงให้พี่น้องต้องทะเลอะกัน ถ้าส่งตัวพระยารามมา ให้พระเจ้าหงสาวดีจะยอมเป็นไมตรี ทางสมเด็จพระมหินทร์ฯ ทรงอ่านสาสน์แล้ว ปรึกษากับข้าราชการต่างๆจึงเห็นสมควรสงบศึกเพราะผู้คนล้มตายกันมากแล้ว สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงรับสั่งให้ส่งพระสังฆราชออกไปเจรจาและส่งตัวพระยาราม ให้พระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง)เพื่อเป็นไมตรี
แต่พระเจ้าหงสาวดีตบัตสัตย์ไร้สัจจะวาจาไม่ยอมเป็นไมตรี แต่กลับบอกว่าจะต้องยอมแพ้และเป็นเชลย ทำให้สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงพิโรธโกรธแค้นในการกลับกลอกของบุเรงนองอย่างมาก ทรงรับ สั่งให้ขุนศึกทั้งหลายรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพม่าก็เห็นว่างานนี้ก็ยัง ตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้ จึงส่งพระมหาธรรมราชามาเกลี้ยกล่อมให้ยอมแพ้ แต่ถูก ทหารไทยเอาปืนไล่ยิงจนต้องหนีกลับไป ด้วยความเจ้าเล่ห์ของพระเจ้าหงสาวดีจึงคิดอุบายจะใช้เจ้าพระยาจักรีที่จับตัวได้ ตอนสงครามช้างเผือกเป็นใส้ศึก อนิจา..พระยาจักรียอมเนรคุณแผ่นดินไทยยอม เป็นใส้ศึกให้พม่า โดยวางแผนจำคุกพระยาจักรีในค่ายด้านตะวันออก แล้วแกล้ง ปล่อยให้หนีในตอนกลางคืน(มีเครื่องพันธนาการโซ่ล่ามมาด้วย) รุ่งเช้าพม่าทำที เป็นตามหาแต่ไม่พบเลยจับตัวผู้คุมมาตัดหัวเสียบไว้ริมแม่น้ำเพื่อให้ไทยหลงกล สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงดีพระทัยที่พระยาจักรีหนีมาได้ จึงทรงแต่งตั้งให้เป็น ผู้บังคับบัญชาการรบแทนที่พระยาราม แผนชั่วร้ายจึงเริ่มขึ้นพระยาจักรีได้ใส่ ร้ายให้พระศรีสาวราชว่าเป็นกบฏจึงถูกสำเร็จโทษ นอกจากนี้พระยาจักรียังได้ ย้ายแม่ทัพที่รบเก่งๆเอาไปไว้ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญทำให้การป้องกันพระนคร เริ่มอ่อนแอ แผนชั่วร้ายได้ดำเนินมา ๒ เดือนเมื่อเห็นว่าได้เวลาอันควรพระยา จักรีจึงให้สัญญาณแก่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุกด้าน ในที่สุดไทยจึงเสียกรุงแก่พม่าเพราะมีใส้ศึกคนขายชาติ (มิได้เสียกรุงเพราะ ความสามารถทางการรบ ) รวมเวลาที่พม่าล้อมกรุงศรีฯเอาไว้ ๙ เดือน คนทรยศต่อแผ่นดินยังมี พระยาพลเทพอีกหนึ่งคน ตามคำบอกกล่าวของ ชาวกรุงเก่าว่า “ เมื่อพระเจ้ากรุงศรีฯเห็นว่าทัพเริ่มแตกจึงรับสั่งให้ทหารปิด ประตูเมืองและรักษาหน้าที่เชิงเทินเอาไว้ให้มั่น แต่ทางพระยาพลเทพผู้ทรยศ ได้แอบส่งอาวุธ เสบียงอาหารให้พม่า พร้อมทั้งรับปากว่าจะเปิดประตูเมือง ทางด้านตะวันออกให้เมื่อพม่าบุกเข้าตี ”

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน สงครามช้างเผือก

๔ สงครามช้างเผือก .....“ เมื่อปีพศ.๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีได้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ เพื่อจะทูลขอช้างเผือก ๒ ช้าง(เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีช้าง เผือกอยู่ ๗ ช้าง) นับว่าเป็นกลอุบายเพื่อจะหาเรื่องยกทัพมาตีไทย ขุนศึกและ เสนาบดีจึงแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเห็นด้วยที่จะประทานช้างเผือก ๒ ช้าง เพื่อป้องกันการเกิดศึกสงครามเพราะว่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองมีความชำนาญ การศึกมาก ฝ่ายที่สองไม่เห็นด้วยที่จะประทานช้างเผือก(มีพระราเมศวร พระยา จักรี พระสุนทรสงคราม) เพราะจะเป็นการอ่อนข้อให้ ในวันข้างหน้าพระเจ้าหงสา วดีจะต้องเอาไทยเป็นเมืองขึ้น สรุปก็คือให้หรือไม่ให้ก็จะตี
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงมีพระราชดำริไม่ประทานช้างเผือก แล้วมีพระราชสาสน์ตอบกลับไปดังนี้
“ช้างเผือกย่อมเกิดสำหรับบุญบารมีของพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของ เมื่อพระเจ้าหงสาวดีได้บำเพ็ญธรรมให้ไพบูรณ์คงจะได้ช้างเผือกมาสู่บารมีเป็นมั่นคงอย่าได้ทรงวิตกเลย”
และรับสั่งให้เตรียมไพร่พลพร้อมรบอย่างเข้มแข็ง ทางฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพรวมพลที่เมืองเมาะตะมะ จัดทัพใหญ่ออก เป็น ๕ ทัพ มีเจ้าเมืองเชียงใหม่ควบคุมกองเรือเสบียง ล่องลงมาถึงเมืองตาก รวมไพล่พลเป็นจำนวนประมาณ ๕ แสนคน ส่วนทางอยุธยาได้เตรียมพลพร้อมรบและเรือรบจำนวนมาก เพื่อป้องกันการ โจมตีจากทัพหลวงของหงสาวดีทางด่านเจดีย์สามองค์ แต่ผิดคาดพม่ายกทัพ มาทางด่านแม่ละเมาเข้าตีกำแพงเพชรได้เมืองแล้วแยกทัพไปตีสุโขทัย เนื่องด้วยทางสุโขทัยมีกำลังน้อยกว่ามากแต่ก็สู้รบเป็นสามารถในที่สุดก็ถูกยึดเมือง จากนั้นพม่าจึงล้อมเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาก็ต่อสู้เป็นสามารถเช่นกัน แต่เกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองและเสบียงอาหารก็หมดจึงยอมจำนน หลังจากที่พม่าได้หัวเมืองฝ่ายเหนือแล้วจึงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่า พร้อมทั้งสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีฯด้วย
กองทัพพม่ายกมาประชิดเขตเมืองใก้ลทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก เรือ ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู่ไม่ได้จึงถอย ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี(ทุ่งลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา(ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังมากการที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัย คงจะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลากพม่าคงจะถอยไปเอง แต่พม่าได้เตรียมเรือรบ และปืนใหญ่มาจำนวนมากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามา ในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายมาก ทางพระเจ้าหงสา วดีจึงมีสาสน์มาว่า จะรบต่อไปหรือยอมเป็นไมตรี เนื่องด้วยทางไทยเสียเปรียบมาก พระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมเป็นไมตรี ทำให้ฝ่ายไทยต้องเสียช้างเผือกจาก ๒ ช้าง เป็น ๔ ช้าง และทุกปีต้องส่งช้างให้ ๓๐ เชือก พร้อมเงิน ๓๐๐ ชั่ง จับตัวพระยาจักรี ไปเป็นตัวประกัน นอกจากนี้ยังจะขอเก็บภาษีอากรจากเมืองมะริดที่ขึ้นกับไทยอีกด้วย ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระชมมายุได้ ๙ พรรษาถูกนำเสด็จไปประทับที่กรุง หงสาวดีเพื่อเป็นองค์ประกันด้วย

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน พระมหาวีรกษัตรีศรีสุริโยทัย

พระมหาวีรกษัตรีศรีสุริโยทัย ........เมื่อปีพศ.๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบ้านโผงผาง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงยกกองทัพออกไปตรวจดูข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทอง ทรงเครื่องอลังการยุทธและได้ เสด็จทรงช้างต้นพลายแก้วจักรพรรดิเป็นพระคชาธาร มีพระสุริโยทัยเอกอัครมเหสี เสด็จมาด้วย ทรงใส่ชุดพระมหาอุปราชเสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์เป็นพระ คชาธาร ส่วนพระโอรส(พระราเมศวรและพระมหินทราธิราช)ได้ทรงช้างต้นพลาย มงคลจักรพาฬและช้างต้นพลายพิมานจักรพรรดิตามลำดับ ทางฝ่ายพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ทรงช้างพลายมงคลทวีป และพระเจ้าแปรทรงได้ ทรงช้างพลายเทวนาคพินาย(อนึ่ง ช้างของพม่ามีความสูงกว่าของไทยประมาณ ๑ คืบเจ็ดนิ้ว) รายละเอียดในการรบ จะขอนำข้อความจากพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตเลขา ดังนี้ “ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ได้ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกับกองหน้า พระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึก พระเจ้าแปรได้ทีจึงขับพระคชาธา ตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ พระสุริโยทัยเห็นว่าพระราชสามีไม่พ้นมือข้าศึกแน่ๆ แล้ว ด้วยทรงพระกตัญญูภาพจึงทรงขับพระคชาธารพลายทรงสุริยกษัตริย์เข้าออก รับ แต่พระคชาธารพระสุริโยทัยเสียทีข้าศึก พระเจ้าแปรจึงฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระอังสกพระสุริโยทัยขาดจนถึงราวพระถันประเทศสิ้นพระชนม์บนคอช้าง .... พระโอรสทั้ง ๒ พระองค์จึงขับพระคชาธารเข้าไปกันพระศพสมเด็จพระมารดาเข้า พระนคร ทรงทำยุทธหัตถี ณ.สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ในวันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก พศ.๒๐๙๑
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้เชิญพระศพพระสุริโยทัย ไปประดิษฐานยังสวนหลวง หลังจากนั้นจึงทรงพระราชทานเพลิงศพ แล้วสร้างพระอารามตรงพระเมรุ โดยมีเจดีย์ใหญ่เรียกว่า ‘ วัดหลวงสบสวรรค์ ’ การศึกครั้งนั้นพม่ายังไม่สามารถจะตีไทยได้ และพระมหาจักรพรรดิทรงรับสั่งให้ พระมหาธรรมราชายกทัพของหัวเมืองทางเหนือลงมาตีทัพพม่าโดยด่วน ทัพพม่าจะ หนีไปทางด่านแม่ละเมา กองทัพไทยก็ไล่ตามมาติดๆเข้าตีพม่าล้มตายจำนวนมาก เกือบจะทันทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดีที่เมืองกำแพงเพชร ด้วยเลห์กลพม่าจึงได้ ซุ่มทหารไว้สองข้างทางดักรออยู่ พอกองทัพไทยผ่านเข้าไปจึงถูกล้อมจับตัวพระมหา ธรรมราชาและพระราเมศวรได้ ทางพระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมสงบศึกเพื่อนำทั้ง สองพระองค์กลับมาโดยแลกกับช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคงทวีป กองทัพพม่าจึงหนีกลับไปได้
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ประดิษฐานอยู่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ห่างจากวัดภูเขาทองไปทางทิศเหนือ ( สวนนก ) จ.พระนครศรีอยุธยา












..........

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน กบฏแผ่นดิน

๒ กบฏแผ่นดิน ..... ครั้นสมเด็จพระบรมราชาหน่อ พุทธางกูร สิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้ทรพิษ พระรัฏฐาธิราชกุมารพระโอรส วัย ๕ พรรษา อันประสูติจากพระอัครชายาวัย ๑๗ พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทนพระไชยราชาผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ระหว่างนั้นปีพศ.๒๐๗๓ บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริตคือพระยายมราชบิดาของอัครชายา พระไชยราชาจึงให้สำเร็จโทษพระรัฏฐาธิราชตามราชประเพณีโบราณ และขึ้นครองราชย์แทน ออกรบปราบปรามหัวเมืองอยู่ตลอดจึงทรงแต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้น เป็นพระอุปราชว่าราชการแทนพระองค์ที่กรุง อโยธยา

ต่อมาพระมเหสีของพระไชยราชา คือท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์แบบชู้สาวกับขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ สมคบลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า โอรสพระไชยราชา จึงได้ขึ้นครองราชย์แทนขณะที่มีพระชนม์ ๑๐ พรรษา แต่ต่อมาก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนา ขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ขุน วรวงศา

ระหว่างนั้นพระเฑียรราชาได้ทรงผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยทัยครองพระองค์อยู่ในวัง โดยมีขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเส่หานอกราชการ หลวงศรียศ คุ้มกันภัยให้ และต่อมาก็ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์
(ขึ้นมามีอำนาจเหนือราชบัลลังก์อยุธยา เป็นเวลา ๑ ปี ๒ เดือน กับอีก ๔๒ วัน )เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชาให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่าพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑

ในปี ๒๐๙๑ นี่เอง ที่ทางพม่านำโดยกษัตริย์นามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายภายใน จึงฉวย โอกาสช่วงนี้คิดจะเข้าตี ได้จัดทัพทหาร ๓ หมื่น ช้างศึก ๓ ร้อย ม้าศึก ๒ พันตัว ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เข้าเมืองกาญจนบุรี จับกรมการเมืองมาสอบ ถามจึงทราบว่าหลังจากพระมหาจักรพรรดิได้ขึ้นครองราชย์บ้านเมืองก็สงบดี แต่ พระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพมาแล้วจะถอยกลับก็กะไรอยู่ จึงขอเข้าไปชานเมืองเพื่อ ให้ชาวอยุธยาได้เกรงขาม เดินทางเข้าป่าโมกแล้วตั้งค่ายหลวงที่ทุ่งลุมพลีอยู่ ๓ วัน จากนั้นจึงยกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี ”

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน ปฐมบรมกษัตริย์

๑ ปฐมบรมกษัตริย์ .....“เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาที่ตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชน.. ตัวชื่อมาสเมืองพ่าย ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เมื่อกู พุ่งช้างขุนสามชน ข้อความในหลักศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ กล่าวถึงการชนช้างกับข้าศึกครั้งแรก ของพ่อขุนรามคำแหงขณะมีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ทรงร่วมเดินทางไปรบกับ พระบิดา( ขุนศรีอินทราทิตย์) ในการทำศึกกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อ.แม่สอด จ.ตาก)และได้ชัยชนะ พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง ซึ่งเป็น ปฐมบรมกษัตริย์ของไทย ทรงประดิษฐอักษรลายสือไทย และจัดให้มีการปกครอง แบบพ่อปกครองลูก ตลอดระยะเวลาที่พ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์อยู่ ๔๐ ปี อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด