วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน สงครามเก้าทัพ

๒๑ สงครามเก้าทัพ ..... ผ่านมา ๑๘ ปีหลังจากที่ไทยเป็นเอกราช ในปีพศ. ๒๓๒๘ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พม่าคิดจะตีไทย(อีกแล้ว)โดยมีพระเจ้าปดุงซึ่ง เป็นกษัตริย์ได้ ๓ ปีสั่งให้ยกกองทัพมาถึง ๙ ทัพรวมไพร่พลได้ ๑๔๔,๐๐๐ คน หวังจะตีไทยให้จงได้ ทางฝ่ายไทยรวบรวมกำลังพลได้เพียง ๗๐,๐๐๐ คนซึ่งจะเห็นว่าน้อยกว่าพม่าครึ่งหนึ่ง แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงให้กองทัพไปตั้งรบอยู่บริเวณทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท ทรงให้นำปืนใหญ่และปืนปากกว้างอย่างยิงด้วยท่อนไม้เป็นกระสุนไปตั้งเรียงยิงใส่หอรบพม่าหักและพังลงมา ทำให้พม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ทรงจัดตั้งกองโจรโดยมีพระยาสีหราชเดโชชัย พระยาท้ายน้ำและพระยาเพชรบุรี คุมทหารไปซุ่มดักตัดเสบียงพม่า แต่ว่าพระยาทั้งสามทำการอ่อนแอไม่มีใจสู้ศึก กรมพระราชวังบวรฯจึงทรงดำรัสให้ประหารชีวิตทั้ง ๓ คนเสีย แล้วตั้งให้พระองค์เจ้าขุนเณรคุมทหารจำนวน ๑๘,๐๐๐ คนไปเป็นกองโจรซุ่มอยู่ที่ลำน้ำแควไทรโยค ด้วยความฉลาดของกรมพระราชวังบวรฯ จึงคิดอุบายให้แบ่งกองทัพทหารออกไปนอกค่ายในเวลากลางคืน พอรุ่งเช้าให้ถือธงทิวเดินทัพเข้ามาในค่าย ได้สร้างความครั่นคร้ามให้พม่าอย่างยิ่งเพราะคิดว่าไทยมีกำลังมากมาย รอเวลาจนเห็นว่าพม่าเริ่มอ่อนแอ-อดอยากกองทัพไทยจึงเข้าตีทัพที่ ๔และ ๕ ของพม่าจนพ่าย ยับหนีกลับไป ทางพระเจ้าปดุงทราบข่าวการพ่ายแพ้ของทัพทั้งสองจึงถอยทัพไป ยังเมืองเมาะตะมะ ส่วนทัพที่เหลือของพม่าก็ถูกกองทัพไทยตีแตกจนหมดสิ้น ( แสดงให้เห็นว่าถึงแม้จะมีกำลังคนมากมาย แต่ไร้ซึ่งสติปัญญาก็พบกับความ พ่ายแพ้ได้เช่นกัน )
หลังจากนั้น ๑ ปี พศ.๒๓๒๙ พม่าก็ยกทัพมาแสนกว่าคนตั้งค่ายที่ท่าดินแดง และสามสบ จ.กาญจนบุรี (นี่คือสันดานของผู้รุกราน) สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงให้จัดกองทัพหกหมื่นคนไปตีพม่า รบกันอยู่ ๓ วันไทยตีค่ายพม่าได้ พม่าก็แตกพ่ายหนีกลับไป
จากตรงนี้ ๔๐ ปี พม่าต้องรบกับอังกฤษ ในปี พศ.๒๓๖๘ กรรมตามสนองพม่าแพ้อังกฤษ และตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษตราบแสนนาน ถ้าได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติไทยในอดีตแล้ว จะเห็นว่าเราเป็นชาติที่รักความสงบไม่ชอบรุกรานใคร ตรงข้ามกับพม่าซึ่งได้รุกรานไทยมานานตลอดระยะ เวลา ๔๕๐ ปี (ด้วยกรรมบันดาล ทุกวันนี้ประเทศของเขาก็ยังมีแต่ความวุ่นวายไม่สิ้นสุด)
หยดเลือด หยาดน้ำตาของคนไทยต้องหลั่งลงแผ่นดินมากเพียงใด วีรชนของไทยที่ได้เสียสระชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อรักษาแผ่นดินผืนนี้เอาไว้ให้ลูกหลาน ได้อยู่เย็นเป็นสุขตราบเท่าทุกวันนี้ ฉนั้นเราทุกคนจึงเป็นหนี้บุญคุณอันใหญ่หลวงนี้ ขอจงทดแทนคุณของแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้
วันจันทร์เดือนยี่ แรม ๒ ค่ำ ปีมะโรง พศ.๒๑๓๕ เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา รัฐบาลไทยจึงกำหนดให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย
วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันทหารผ่านศึก ถ้าเราไม่มีทหารผู้เสียสระเหล่านี้ ก็คงไม่ได้อยู่เป็นสุขเช่นทุกวันนี้ อย่าลืมวีรชน วีรบุรุษและวีรสตรีเหล่านี้
"กู กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้เป็นโอรสของพระปิยะมหาราข ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า แผ่นดินสยามนี้บรรพบุรุษได้เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้ ไอ้อีมันผู้ใดคิดบังอาจทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คือกระทำการทุจริตก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว ก่อนที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโครตให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยาม อันเป็นที่รักของกู ......
ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา แผ่นดินใดที่ให้ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น

จาก บันทึก .... กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน การกู้อิสรภาพโดยพระเจ้าตากสิน

๒๐ การกู้อิสรภาพโดยพระเจ้าตากสิน ..... หลังจากที่พม่าเข้ายึดพระนครกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว ทหารพม่าก็กระทำตัวดั่งโจรป่าจุดไฟเผาวัดวาอาราม ราชวัง ปราสาทราชมนเทียร ปล้นเอาทรัพย์สินแก้ว แหวนเงินทอง จับชาวบ้านมาทรมานเพื่อสอบถามที่ซ่อนทรัพย์สินไว้ที่ใด นอกจากนี้ทหารพม่ายังเอาไฟสุมหลอมเอาทองคำที่ห่อหุ้มองค์พระพุทธรูปในวิหารหลวงวัด พระศรีสรรเพชรกลับไปด้วย(นี่คือการปล้นเมืองมิใช่การทำศึกสงครามอย่างอาจหาญ)
สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ร่วมรบขณะกรุงศรีฯถูกพม่าเข้าตี ก่อนที่จะเสียกรุงประมาณ ๓ เดือนพระเจ้าตากสินได้สั่งยิงปืนใหญ่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากข้าราชการฝ่ายใน (ที่ประจบสอพลอ)จึงถูกภาคทัณฑ์ และทรงเห็นทหารไทยในขณะนั้นสู้รบอย่างขาดกลัวยิ่งทำให้พระองค์ทรงท้อพระทัยมาก จึงรวบรวมทหารได้ ๕๐๐ คน เมื่อย่ำค่ำก็เดินทางออกจากค่ายวัดพิชัย ตีฝ่าทัพพม่าหนีไปทางด้านทิศตะวันออก (บ้านโพธิ์สาวหาญ) เดินทัพลงมาทางบ้านพรานนกแขวงเมืองปราจีนบุรี ก็ต้องรบกับพม่าเป็นระยะๆ ในวันจันทร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ พศ.๒๓๐๙ กองทัพของพระเจ้าตากเดินทางมาถึงเมืองระยองตั้งค่ายมั่นอยู่ที่วัดลุ่มเขตบ้านท่าประดู่ จากนั้นก็ทราบข่าวว่ามีเจ้าเมืองข้าราชการบางคนในเมืองระยองจะคิดกบฏปล้นค่าย พระเจ้าตากสินจึงสั่งให้ดับไฟในค่ายแล้วดักรอจนพวกกบฏบุกเข้ามา ทหารของพราะเจ้าตากก็สู้รบจนชนะ จากนั้นจึงส่งหนังสือไปยังพระยาจันทบุรีเพื่อขอเสบียง แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือ พระเจ้าตากทรงยกทัพไปตีขุนรามหมื่นซ่องที่เมืองแกลงแตกทัพหนีไปอยู่ จันทบุรี แล้วพระองค์ได้ยกทัพเข้าตีเมืองชลบุรีซึ่งมีนายทองอยู่ นกเล็กเป็นใหญ่อยู่ ทางนายทองอยู่เห็นว่าสู้ไม่ได้จึงยอม พระเจ้าตากทรงแต่งตั้งให้นายทองอยู่ เป็นพระยาอนุราฐบุรีเจ้าเมืองชลบุรี ทางพระยาจันทบุรีคิดจะกำจัดพระเจ้าตากจึงออกอุบายให้พระสงฆ์ ๔ รูปเป็นฑูตเชิญพระเจ้าตากเข้าเมืองจันทบุรี ด้วยเดชะบุญมีคนหวังดีแอบมาบอกว่าเป็น กลลวงของพระยาจันทบุรี พระเจ้าตากจึงไม่เข้าเมืองทรงยกทัพมาอยู่ที่ริมเมือง ทรงมองเห็นว่ากองทัพเมืองจันทบุรีเข้มแข็งมากการที่จะตีหักเอาเมืองคงยากยิ่ง จึงทรงสร้างขวัญกำลังใจให้ทหารโดยสั่งว่า ................. หลังจากกินข้าวเย็นแล้วให้ทุบหม้อข้าวทิ้งให้หมด เราจะไปกินข้าวเช้าในเมืองจันทบุรี เวลาประมาณตีสามพระเจ้าตากขึ้นช้างพังคิรีบัญชร พุ่งเข้าชนประตูเมืองและยิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารสู้รบ ประตูเมืองพังลงทหารของพระเจ้าตากเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้สำเร็จ ส่วนพระยาจันทบุรีก็หนีไปอยู่เมืองบันทายมาศ พระเจ้าตากได้ยกทัพไปตีเมืองตราด และเริ่มต่อเรือรบจำนวนมาก สะสมอาวุธมากมายเตรียมเอาไว้ ฤดูฝนล่วงไปสามารถต่อเรือได้ ๑๐๐ ลำมีกำลังทหารไทย และจีนสี่พันเศษ พวกชาวบ้านมาแจ้งแก่พระเจ้าตากว่า พระยาอนุราฐบุรี (นาย ทองอยู่ นกเล็ก) เป็นโจรปล้นเรือสินค้า พระเจ้าตากจึงสั่งให้ประหารชีวิตเสีย
พระเจ้าตากยกทัพเรือออกจากจันทบุรีมุ่งเข้าสู่ปากน้ำเจ้าพระยา นายทองอินเป็น คนไทยที่พม่าให้รักษาเมืองธนบุรีไว้ได้แจ้งข่าวให้สุกี้แม่ทัพพม่าทราบว่า พระเจ้าตากได้ยกทัพมาแล้ว พระเจ้าตากทรงตีเมืองธนบุรีได้แล้วสั่งประหารนายทองอิน คนไทยที่ขายชาติทันที เสร็จแล้วจึงยกทัพไปกรุงศรีอยุธยา ทางฝ่ายพม่านายทัพสุกี้ได้ตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายฟากตะวันตก พระเจ้าตากให้ทหารยกทัพเข้าตีค่ายฟากตะวันออกก่อน เมื่อตีได้ค่ายแล้วจึงจัดเตรียมบันไดไว้พาดปีนค่ายฟากตะวันตก รอเวลาจนรุ่งเช้าสั่งให้ตีค่ายพม่ารบกันจนถึงเที่ยง แม่ทัพสุกี้ถูกฆ่าตายในการรบ ทหารไทยเข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้นของพม่าได้ ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พศ.๒๓๑๐ รวมเวลากู้เอกราช ๖ เดือน

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน เสียกรุงครั้งที่สองเพราะกษัตริย์

๑๙ เสียกรุงครั้งที่สองเพราะกษัตริย์ ..... ความเดิมหลังจากสมเด็จพระเจ้าบรมโกศทรงสวรรคตก็ได้ให้เจ้าฟ้ากรมขุนพรนิมิตขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระเจ้าอุทุมพร ทรงครองราชย์ได้เดือนเศษจะต้องอุปสมบท จึงให้เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่า พระเจ้าเอกทัศน์หรือชาวบ้านเรียกขุนหลวงขี้เรื้อน เมื่อพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์ก็เกิดลางร้ายต่างๆซึ่งอาจจะเป็นลางบอกเหตุให้เสียกรุงดังพระดำรัสของพระบิดา พม่ายกทัพเข้าประชิดพระนคร แม่ทัพไทยสั่งตั้งปืนใหญ่ยิงปะทะพม่าแต่กลับถูกสั่งห้าม เพราะเกรงว่าสนมในวังจะตกใจเสียงปืนใหญ่ (นี่ละหนาที่เขาว่าอย่าให้คนไม่ดีมีอำนาจ)ในที่สุดพม่าเริ่มจุดไฟเผารากกำแพงเมืองจนพังลงมา และเริ่มบุกเข้ายึดพระนครได้ในวันที่ ๙ เมษายน พศ.๒๓๑๐ เวลาสองทุ่มเศษ พม่าใช้เวลาล้อมเมืองอยู่ นาน ๑๔ เดือน กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่นานถึง ๔๑๗ ปี ฤ เป็นเพราะชะตาเมือง ...................

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน ศึกบางระจัน วีรชนผู้รักชาติ

๑๘ ศึกบางระจัน วีรชนผู้รักชาติ ..... ในปีพศ.๒๓๐๘ พระเจ้ามังระคิดจะตีกรุงศรีฯให้ได้ จึงส่งกองทัพซึ่งมีเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ( ฝ่ายไทยพระเจ้าเอกทัศน์ขึ้นครองราชย์ต่อจาก พระอนุชา พระบิดาคือ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ก่อนที่พระบิดาจะสวรรคตได้ทรง ดำรัสไว้ว่า “ เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี (พระเจ้าเอกทัศน์ หรือ ขุนหลวงขี้เรื่อน) นั้นโฉดเขรา ไร้สติปัญญา ถ้าได้ครองแผ่นดินจะทำให้แผ่นดินเกิดภัยพิบัติ จึงมีรับสั่งให้ไปบวชเสียอย่ามายุ่งราชการแผ่นดิน ” )
ที่เมืองวิเศษชัยชาญมีคนไทยชื่อ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง นายดอก (บ้านกลับ) นายทองแก้ว(บ้านโพธิ์ทะเล) ได้ช่วยกันสู้กับพม่าและฆ่าพม่าตายไป ๒๐ คน แล้วหนีมาที่บ้านบางระจัน ได้ร่วมกับชาวบ้านบางระจันนิมนต์พระสงฆ์พระอาจารย์ธรรมโชติ(วัดเขานางบวช)มาปลุกเสกคาถาอาคมให้หนังเหนียวมีกำลังใจสู้ ศึกกับพม่า ชาวบ้านรวมกันได้ประมาณ ๔๐๐ คน มีหัวหน้าคือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว และนายทองแสงใหญ่ พม่ายกทัพมาตีถึง ๗ ครั้งด้วยกันก็มิอาจเอาชนะชาวบ้านบางระจันได้ แต่บังเอิญมีชาวมอญชื่อสุกี้(เป็นมอญที่อาศัยอยู่ในไทย) ขันอาสารบกับไทย ใช้วิธีใจเย็นสู้กับชาวบ้านเพราะรู้ว่าชาวบ้านใจร้อน รบกันอยู่นานชาวบ้านก็มีใบบอกไปถึงกรุงศรีฯ เพื่อขอปืนใหญ่และกระสุนปืนแต่ได้รับการปฏิเสธ เพียงแต่ส่งนายกองมาช่วยดู ชาวบ้านจึงช่วยกันนำเศษทองเหลืองที่เรี่ยไรมาได้มาหล่อปืนใหญ่ ๒ กระบอก แต่ว่าปืนร้าวใช้งานไม่ได้ สุกี้เห็นว่าไทยเริ่มอ่อนแอจึงให้ขุดอุโมงค์เข้าไปใก้ลค่ายบางระจันแล้วเอาปืนใหญ่ตั้งหอสูงระดมยิงใส่ค่ายจนค่ายแตก ทำให้ไทยต้องเสียค่ายบางระจันแก่พม่า ( พร้อมด้วยเลือดเนื้อของวีรชนชาวบางระจัน ) ค่ายบางระจันถูกพม่าตีแตกในวันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีจอ พศ.๒๓๐๙ รวมระยะเวลาที่วีรชนชาวบางระจันต่อสู้นานถึง ๕ เดือน
ด้วยวีรกรรมนี้รัฐบาลไทย จึงกำหนดให้วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ เป็น “ วันวีรชนค่ายบางระจัน ”

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน คิดรุกรานไทยกรรมจึงตามสนอง

 ๑๗ คิดรุกรานไทยกรรมจึงตามสนอง ..... ในปีพศ.๒๓๐๐ พม่าถูกมอญเข้ายึดครองอยู่ใต้อำนาจถึง ๗ ปี แต่มีพรานป่าชาวพม่าชื่อมังอองไจยะ รบชนะมอญและยึดเมืองคืน มังอองไจยะจึงตั้งตนขึ้นเป็น กษัตริย์พม่าชื่อ พระเจ้าอลองพญา ประมาณปี พศ.๒๓๐๒ ด้วยความชอบรุกรานบ้านเมืองผู้อื่นพระเจ้าอลองพญาจึงจัดทัพมาตีไทย (เพราะทราบว่ากำลังทหารของ ทยช่วงนั้นอ่อนแอ) ทางด่านสิงขร ประจวบฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี มุ่งเข้าสู่กรุงศรี อยุธยา ทางพม่าเลยได้ใจที่จะตีเอากรุงศรีอยุธยาให้ได้ พระเจ้าอลองพญาสั่งให้ ตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนคร โดยเป็นคนจุดไฟยิงปืนใหญ่เองแต่ปืนใหญ่ระเบิด ถูกพระเจ้าอลองพญาอาการสาหัส(กรรมสนอง) พม่าจึงถอยทัพกลับมาทางด่าน แม่ละเมา และพระเจ้าอลองพญาสิ้นพระชนม์ที่เมืองตาก
ในปีพศ.๒๓๐๖ เมื่อพระเจ้ามังระได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาที่สิ้นพระชนม์จากปืนใหญ่ ด้วยสายเลือดของผู้รุกรานจึงจัดทัพมาตีไทย ให้แม่ทัพมังมหานรธา ยกทัพมาตีทวาย ตะนาวศรี ระนอง ชุมพร ประจวบฯ จนถึงเพชรบุรี แต่ทัพไทย นำโดยพระยาตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรี และพระยาพิพัฒน์โกษาได้ต่อสู้กับพม่าเป็นสามารถจนทัพพม่าแตกพ่ายหนีกลับไป

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน การทำศึกครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวร

๑๖ การทำศึกครั้งสุดท้ายของสมเด็จพระนเรศวร ..... ในปีพศ.๒๑๔๗ พม่าเกิดการแตกแยกขึ้นเมื่อโอรสพระเจ้าตองอู(นัดจินหน่อง) ลอบวางยาพิษให้พระเจ้าหงสาวดีสิ้นพระชนม์ เมืองอังวะจึงยกทัพมาตีหัวเมืองที่อยู่ทางเหนือของไทย สมเด็จพระนเรศวรทรงขัดเคืองเป็นยิ่งทรงจัดกองทัพใหญ่ มีกำลังพลหนึ่งแสนคนยกไปตีอังวะ ทรงให้พระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถยก ทัพไปทางเมืองฝาง ส่วนพระองค์ยกทัพมาทางเมืองหาง ฤ จะสิ้นบุญบารมีจอมกษัตริย์นักรบ สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นฝีหัวระลอกขึ้นบริเวณพระพักตร์รามเป็นบาดทะพิษ ทรงรับสั่งให้ทหารไปเชิญเสด็จ พระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้าพระองค์ได้ ๓ วัน สมเด็จพระนเรศวรก็ ทรงสวรรคต ณ.เมืองหาง
รวมเวลาที่พระองค์ทรงตรากตรำการศึกสงครามเพื่อ กอบกู้ชาติบ้านเมืองเป็นเวลา ๒๐ ปี (ตั้งแต่ พศ.๒๑๒๗ - ๒๑๔๗ ) เราชาวไทย ซึ่งเป็นลูกหลาน เหลน ของพระองค์ท่านจึงควรภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกไทยชาตินักรบ

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน ตีกรุงหงสาวดีล้างแค้น

๑๕ ตีกรุงหงสาวดีล้างแค้น ..... หลังจากจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระแม่เจ้า สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปตีกรุงหงสาวดีในปี พศ.๒๑๓๘ ทรงนำกำลังพลประมาณหนึ่งแสนสองหมื่นคนเข้าไปล้อมเมืองหงสาวดีเอาไว้นาน ๓ เดือนยังตีไม่ได้ ทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าแปร พระเจ้าอังวะ และพระเจ้าตองอูยกทัพมาช่วยกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรจึงยกทัพกลับพระนคร ผ่านมา ๔ ปี พศ.๒๑๔๒ สมเด็จพระนเรศวรทรงจัดกองทัพเตรียมยกไปตีกรุงหงสาวดีอีกครั้งทางเมืองยะไข่และตองอูทราบจึงเข้ามาสวามิภักร แต่กลับมีพระรูปหนึ่งชื่อมหาเถรเสียมเพรียมได้ยุยงให้พระเจ้าตองอูกบฏต่อไทย โดยเข้าตีหงสาวดีก่อนแต่ตีไม่สำเร็จจึงล้อมเมืองเอาไว้ ทางหงสาวดีทราบข่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงปราบกบฏมอญได้ จึงเปิดประตูเมืองรับพระเจ้าตองอูพร้อมทั้งมอบ อำนาจในการปกครองและบัญชาการรบให้ด้วย พระเจ้าตองอูจึงคิดจะหาพรรคพวกโดยยกราชธิดาของพระเจ้าหงสาวดีให้พระเจ้ายะไข่เพื่อให้กองทัพยะไข่ช่วย ต่อสู้กับกองทัพไทย(ไร้สัจจะเหมือนสมัยพระเจ้าบุเรงนอง) จากนั้นพระเจ้าตองอู จึงนำตัวพระเจ้าหงสาวดีไปไว้ยังเมืองตองอู สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพมาถึงหงสาวดี ทรงทราบว่าพระเจ้าหงสาวดีหนีไป อยู่เมืองตองอูก็ทรงผิดหวังมาก จึงสั่งให้เผาเมืองหงสาวดีทิ้งเสียแล้วยกกองทัพไปล้อมเมืองตองอู เนื่องจากตองอูเป็นเมืองใหญ่มีป้อมปราการแข็งแกร่ง ซ้ำมีคู เมืองที่กว้างและลึกอีกต่างหาก พระองค์ทรงตรัสว่า “ หากกูตีตองอูแล้วจับไอ้นันทบุเรงมาเซ่นดวงวิญญาณของพี่กูไม่ได้ ก็จะไม่เข้าพระนคร ” ทรงล้อมเมืองอยู่ ๒ เดือนเสบียง อาหารเริ่มหมด ไข้ป่าก็มาก ทหารเจ็บป่วยหลายคนจึงทรงสั่งถอยทัพ และพระองค์ก็มิได้เสด็จเข้าไปในพระบรมมหาราชวังนานร่วม ๓ ปี