วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ

๘ พระนเรศวรทรงแสดงฝีมือในการรบ.... ปีพศ.๒๑๑๗ พระเจ้าหงสวาดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ ราชบุตรชื่อมังเอิญหรือมังไชยสิงห์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อพระนามว่าพระเจ้านันทบุเรง ตามธรรมเนียมประเพณีแล้วบรรดาประเทศราชที่เป็นเมืองขึ้นจะต้องเดินทางไปถวายบังคมกษัตริย์องค์ ใหม่แสดงความจงรักภักดีรวมทั้งไทยด้วย แต่ว่าเมืองคังมีเจ้าฟ้าไทยใหญ่เป็นผู้ครองนครไม่เดินทางมาร่วม หมายถึงกระด้างกระเดืองคิดแข็งเมือง ทางพระเจ้านันทบุเรงได้สั่งให้ยกทัพไปปราบเมืองคัง เพื่อแสดงอำนาจบารมี โดยมีการจัดทัพเป็น ๓ กองทัพคือ ๑ กองทัพพระมหาอุปราช เป็นโอรสของพระเจ้านันทบุเรง มีชื่อเดิม มังสามเกียด หรือมังกะยอชะวา ๒ กองทัพพระสังกะทัต เป็นราชบุตรของพระเจ้าตองอู มีชื่อเดิม นัดจินหน่อง ๓ กองทัพสมเด็จพระนเรศวร เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชากษัตริย์ไทย เมืองคังมีทำเลอยู่บนเขาทางขึ้นก็เป็นซอกเขา ยากต่อการเข้ายึด เริ่มการศึกทาง พระมหาอุปราชเข้าตีก่อนและแพ้ลงมา ครั้งที่สองให้พระสังกะทัตเข้าตีก็ไม่สำเร็จ ต่อไปเป็นหน้าที่ของสมเด็จพระนเรศวร ด้วยทรงพระปรีชาสามารถจึงตีเมืองคังได้สำเร็จและจับตัวเจ้าฟ้าไทยใหญ่มาถวายพระเจ้านันทบุเรงอีกด้วย การศึดครั้งนี้สร้างความอับอายให้พระเจ้านันทบุเรงมาก เพราะต้องการให้ราชโอรสชนะ ใช่แต่เรื่องการศึกเท่านั้นในยามว่างก็มีการนำไก่ชนมาตีกัน ระหว่างไก่ของสมเด็จพระนเรศวรและพระมหาอุปราช ผลคือไก่ชนของพระนเรศวรตีชนะทำเอาพระมหาอุปราชเสียหน้าจึงตรัสว่า “ ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ ” พระนเรศวร ทรงได้ยินดังนั้นจึงตรัสกลับไปว่า “ ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่จะพนันเอาเดิมพันเลย ถึงจะชนเอาบ้านเอาเมืองก็ได้ ” ( ถ้าลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยที่สมเด็จพระนเรศวรทรงขับไล่เขมร การตีเมืองคัง ได้สำเร็จ จนถึงการชนไก่ จะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระบารมีเหนือกว่า ทางฝ่ายพม่ามากนัก )

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน เขมร สันดาลเนรคุณ

๗ เขมร สันดาลเนรคุณ .... เมื่อปีพศ. ๒๐๗๕ ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ ( ช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจากพระชัย ราชามาเป็นพระเทียรราชา หรือพระมหาจักรพรรดิ ) กรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาตี ไทย ฝ่ายเขมรพระยาละแวกเห็นได้ทีจึงยกทัพเข้ามาทางปราจีนบุรีกวาดต้อนผู้คน กลับไปเขมรจำนวนมาก หลังจากพม่ายกทัพกลับไปสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรง พิโรธมาก จึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปถึงเมืองพระตะบองและละแวก พระยาละแวก เห็นท่าจะแพ้ในการศึกจึงมีราชสาสน์มากราบทูลพระมหาจักรพรรดิ จับใจความได้ ว่า “ ข้าพระองค์ผู้ปกครองกัมพูชา มิได้เกรงพระบรมเดชานุภาพที่ไปกวาดต้อน คนจากปราจีนบุรี ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณา การมาถวาย และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปวสาน ”
หลังจากนั้น ๓ วันพระยา ละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการพร้อมด้วยนักพระสุโทและนักพระสุทันเป็นราชบุต มาเข้าเฝ้า ทางพระมหาจักรพรรดิก็ทรงคลายพิโรธและขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยง ดู พระยาละแวกก็ยอมจากนั้นก็กวาดต้อนคนชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย ต่อมาไม่นานญวณได้ยึดเมืองละแวก ไทยจึงส่งกองทัพไปช่วยเพื่อตีเมืองคืนแต่ทำไม่สำเร็จ
ในปีพศ.๒๑๑๓ รัชสมัยพระมหาธรรมราชาหลังจากที่ไทยเสียกรุงให้แก่พม่าเพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรได้ถือโอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนา-ยก(ทั้งที่เคยให้สัจจะว่าจะขอเป็นข้าพระบาทกษัตริย์ไทยชั่วกัลปาวสาน) พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูกพระจำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง ทัพของเขมรถอยกลับไปแต่ก็ย้อนกลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง นอกจากนี้พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อนผู้คนแถวจันทรบุรี ระยอง ฉะเชิง เทรากลับไปเขมรจำนวนมากด้วยความคดในข้องอในกระดูกพระยาละแวกได้ยก ทัพมาถึงปากน้ำพระประแดงโจมตีเมืองธนบุรีจับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็น เชลยจำนวนมาก เลยได้ใจรวบรวมคนหมายจะตีกรุงศรีอยุธยา แต่งทัพเรือ ๓๐ ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย แต่โชคไม่ดีถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทางพระประแดง ( หนีไม่หนีเปล่ายังกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย ..... เลวจริงๆ )
ในปีพศ.๒๑๒๙ พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกหงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาสยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีน
สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า “ พระยาละแวกตบัตสัตย์อีกแล้ว จึงต้องยกไปปราบให้ราบคราบ ” ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไปจนสุดชายแดน ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก
ในปีพศ.๒๑๓๒ หลังจากสมเด็จพระนเรศวรครองราชย์ ทรงปรึกษาข้าราชการว่ากษัตริย์เขมรมีใจคิดไม่ซื่อเหมือนพระยาละแวก ชอบซ้ำเติมไทยในยามศึกกับพม่า
จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกทัพไปแก้แค้นเอาโลหิตมาล้างพระบาต ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์ แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้ ทรงล้อมเมืองนานถึง ๓ เดือนยังตีไม่ได้ เสบียงอาหารเริ่มลดน้อยลงจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน แล้วจะเตรียมการมาตีในภายหน้า