วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน พระมหาวีรกษัตรีศรีสุริโยทัย

พระมหาวีรกษัตรีศรีสุริโยทัย ........เมื่อปีพศ.๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบงชเวตี้ได้ยกกองทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ (กาญจนบุรี) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบ้านโผงผาง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงยกกองทัพออกไปตรวจดูข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทอง ทรงเครื่องอลังการยุทธและได้ เสด็จทรงช้างต้นพลายแก้วจักรพรรดิเป็นพระคชาธาร มีพระสุริโยทัยเอกอัครมเหสี เสด็จมาด้วย ทรงใส่ชุดพระมหาอุปราชเสด็จทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์เป็นพระ คชาธาร ส่วนพระโอรส(พระราเมศวรและพระมหินทราธิราช)ได้ทรงช้างต้นพลาย มงคลจักรพาฬและช้างต้นพลายพิมานจักรพรรดิตามลำดับ ทางฝ่ายพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ทรงช้างพลายมงคลทวีป และพระเจ้าแปรทรงได้ ทรงช้างพลายเทวนาคพินาย(อนึ่ง ช้างของพม่ามีความสูงกว่าของไทยประมาณ ๑ คืบเจ็ดนิ้ว) รายละเอียดในการรบ จะขอนำข้อความจากพระราชพงศาวดารฉบับราชหัตเลขา ดังนี้ “ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ได้ขับพระคชาธารเข้าชนช้างกับกองหน้า พระเจ้าหงสาวดี พระคชาธารเสียทีให้หลังข้าศึก พระเจ้าแปรได้ทีจึงขับพระคชาธา ตามไล่ช้างพระมหาจักรพรรดิ พระสุริโยทัยเห็นว่าพระราชสามีไม่พ้นมือข้าศึกแน่ๆ แล้ว ด้วยทรงพระกตัญญูภาพจึงทรงขับพระคชาธารพลายทรงสุริยกษัตริย์เข้าออก รับ แต่พระคชาธารพระสุริโยทัยเสียทีข้าศึก พระเจ้าแปรจึงฟันด้วยพระแสงของ้าว ถูกพระอังสกพระสุริโยทัยขาดจนถึงราวพระถันประเทศสิ้นพระชนม์บนคอช้าง .... พระโอรสทั้ง ๒ พระองค์จึงขับพระคชาธารเข้าไปกันพระศพสมเด็จพระมารดาเข้า พระนคร ทรงทำยุทธหัตถี ณ.สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ในวันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก พศ.๒๐๙๑
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้เชิญพระศพพระสุริโยทัย ไปประดิษฐานยังสวนหลวง หลังจากนั้นจึงทรงพระราชทานเพลิงศพ แล้วสร้างพระอารามตรงพระเมรุ โดยมีเจดีย์ใหญ่เรียกว่า ‘ วัดหลวงสบสวรรค์ ’ การศึกครั้งนั้นพม่ายังไม่สามารถจะตีไทยได้ และพระมหาจักรพรรดิทรงรับสั่งให้ พระมหาธรรมราชายกทัพของหัวเมืองทางเหนือลงมาตีทัพพม่าโดยด่วน ทัพพม่าจะ หนีไปทางด่านแม่ละเมา กองทัพไทยก็ไล่ตามมาติดๆเข้าตีพม่าล้มตายจำนวนมาก เกือบจะทันทัพหลวงของพระเจ้าหงสาวดีที่เมืองกำแพงเพชร ด้วยเลห์กลพม่าจึงได้ ซุ่มทหารไว้สองข้างทางดักรออยู่ พอกองทัพไทยผ่านเข้าไปจึงถูกล้อมจับตัวพระมหา ธรรมราชาและพระราเมศวรได้ ทางพระมหาจักรพรรดิจึงทรงยอมสงบศึกเพื่อนำทั้ง สองพระองค์กลับมาโดยแลกกับช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคงทวีป กองทัพพม่าจึงหนีกลับไปได้
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ประดิษฐานอยู่บริเวณทุ่งมะขามหย่อง ห่างจากวัดภูเขาทองไปทางทิศเหนือ ( สวนนก ) จ.พระนครศรีอยุธยา












..........

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน กบฏแผ่นดิน

๒ กบฏแผ่นดิน ..... ครั้นสมเด็จพระบรมราชาหน่อ พุทธางกูร สิ้นพระชนม์ด้วยโรคไข้ทรพิษ พระรัฏฐาธิราชกุมารพระโอรส วัย ๕ พรรษา อันประสูติจากพระอัครชายาวัย ๑๗ พรรษา เป็นผู้ขึ้นครองราชย์แทนพระไชยราชาผู้ซึ่งดำรงพระยศเป็นพระอุปราช ระหว่างนั้นปีพศ.๒๐๗๓ บ้านเมืองถูกบริหารโดยขุนนางทุจริตคือพระยายมราชบิดาของอัครชายา พระไชยราชาจึงให้สำเร็จโทษพระรัฏฐาธิราชตามราชประเพณีโบราณ และขึ้นครองราชย์แทน ออกรบปราบปรามหัวเมืองอยู่ตลอดจึงทรงแต่งตั้งพระเฑียรราชาขึ้น เป็นพระอุปราชว่าราชการแทนพระองค์ที่กรุง อโยธยา

ต่อมาพระมเหสีของพระไชยราชา คือท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ลักลอบมีความสัมพันธ์แบบชู้สาวกับขุนชินราช ผู้ดูแลหอพระ สมคบลอบวางยาพิษปลงพระชนม์พระไชยราชา พระยอดฟ้า โอรสพระไชยราชา จึงได้ขึ้นครองราชย์แทนขณะที่มีพระชนม์ ๑๐ พรรษา แต่ต่อมาก็ถูกท้าวศรีสุดาจันทร์ปลงพระชนม์อีกองค์หนึ่ง แล้วสถาปนา ขุนชินราชขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า ขุน วรวงศา

ระหว่างนั้นพระเฑียรราชาได้ทรงผนวชเพื่อเลี่ยงภัย ส่วนพระสุริโยทัยครองพระองค์อยู่ในวัง โดยมีขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเส่หานอกราชการ หลวงศรียศ คุ้มกันภัยให้ และต่อมาก็ได้ร่วมกันปลงพระชนม์ ขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์
(ขึ้นมามีอำนาจเหนือราชบัลลังก์อยุธยา เป็นเวลา ๑ ปี ๒ เดือน กับอีก ๔๒ วัน )เสียบหัวประจานไว้ที่วัดแร้ง แล้วอัญเชิญพระเฑียรราชาให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่าพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๑

ในปี ๒๐๙๑ นี่เอง ที่ทางพม่านำโดยกษัตริย์นามว่า พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายภายใน จึงฉวย โอกาสช่วงนี้คิดจะเข้าตี ได้จัดทัพทหาร ๓ หมื่น ช้างศึก ๓ ร้อย ม้าศึก ๒ พันตัว ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์เข้าเมืองกาญจนบุรี จับกรมการเมืองมาสอบ ถามจึงทราบว่าหลังจากพระมหาจักรพรรดิได้ขึ้นครองราชย์บ้านเมืองก็สงบดี แต่ พระเจ้าหงสาวดีได้ยกทัพมาแล้วจะถอยกลับก็กะไรอยู่ จึงขอเข้าไปชานเมืองเพื่อ ให้ชาวอยุธยาได้เกรงขาม เดินทางเข้าป่าโมกแล้วตั้งค่ายหลวงที่ทุ่งลุมพลีอยู่ ๓ วัน จากนั้นจึงยกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี ”

ประวัติศาสตร์ไทย ตอน ปฐมบรมกษัตริย์

๑ ปฐมบรมกษัตริย์ .....“เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาที่ตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใส พ่อกูหนีญญ่ายพ่ายจะแจ กูบ่หนี กูขี่ช้างเนกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชน.. ตัวชื่อมาสเมืองพ่าย ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เมื่อกู พุ่งช้างขุนสามชน ข้อความในหลักศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ กล่าวถึงการชนช้างกับข้าศึกครั้งแรก ของพ่อขุนรามคำแหงขณะมีพระชนมายุได้ ๑๙ พรรษา ทรงร่วมเดินทางไปรบกับ พระบิดา( ขุนศรีอินทราทิตย์) ในการทำศึกกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อ.แม่สอด จ.ตาก)และได้ชัยชนะ พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง ซึ่งเป็น ปฐมบรมกษัตริย์ของไทย ทรงประดิษฐอักษรลายสือไทย และจัดให้มีการปกครอง แบบพ่อปกครองลูก ตลอดระยะเวลาที่พ่อขุนรามคำแหงทรงครองราชย์อยู่ ๔๐ ปี อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด